ก้อนเมฆบอกอากาศ
ReadyPlanet.com
dot dot
http://www.vc-tech.com/static.php?mode=preview&keyword=ContactUs#contact




ก้อนเมฆบอกอากาศ

 บทความ ก้อนเมฆบอกอากาศ

          เมฆ(Cloud) คือกลุ่มของละอองน้ำขนาดเล็กซึ่งเกิดจากการควบแน่นของหยดน้ำในอากาศ แต่เมฆชั้นสูงซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งจะเป็นกลุ่มของผลึกน้ำแข็งขนาดเล็ก โดยปกติน้ำบริสุทธิ์และไอน้ำโปรงแสงจนไม่สามารถมองเห็นได้ แต่หยดน้ำ และผลึกน้ำแข็ง มีพื้นผิวซึ่งสะท้อนแสงทำให้เราสามารถมองเห็นเป็นก้อนสีขาว และในบางครั้งมุมตกกระทบของแสงและเงาจากเมฆชั้นบนหรือเมฆที่อยู่ข้างเคียง หรือความหนาแน่นของหยดน้ำในก้อนเมฆก็อาจทำให้เมฆปรากฏเป็นสีเทา

          ในธรรมชาติเมฆเกิดขึ้นโดยมีรูปร่าง 2 ลักษณะ เมฆก้อนและเมฆแผ่น เมฆก้อนเรียกว่า “คิวมูลลัส”(Cumulus) และเมฆแผ่นเรียกว่า “สตราตัส”(Stratus) หากเมฆก้อนลอยชิดติดกัน เรานำชื่อทั้งสองมาสมานกันและเรียกว่า “สตราโตคิวมูลัส”(Stratrocumulus) ในกรณีที่เป็นเมฆฝนจะเพิ่มคำว่า “นิมโบ” หรือ “นิมบัส”  ซึ่งแปลว่า ฝน เข้าไป โดยเรียกเมฆก้อนที่ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองว่า “คิวมูโลนิมบัส” (Cumulonimbus) เรียกเมฆแผ่นที่มีฝนตกปรอยๆ อย่างสงบว่า “นิมโบสตราตัส”

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1.เมฆชั้นต่ำ อยู่สูงจากพื้นไม่เกิน 2-6 กิโลเมตร
สตราตัส
(Stratus) เมฆแผ่นที่ลอยไม่สูงมากนัก มักเกิดในตอนเช้าหรือหลังฝนตก ถ้าลอยติดพื้นจะเรียกว่า หมอก
สตราโตคิวมูลัส
(Stratocumolus) เมฆก้อนที่ไม่มีรูปทรงชัดเจน มักมีสีเทา ลอยต่ำติดกันเป็นแพ และมีช่องว่างระหว่างก้อนแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น มักพบเห็นเมื่อสภาพอากาศไม่ค่อยดีนัก
นิมโบสตราตัส (Nimbostratus) เมฆสีเทา ทำให้เกิดฝนพรำ และมักเกิดปรากฏสายฝนจากฐานเมฆ
คิวมูลัส
(Cumulus) เป็นเมฆก้อนปุยสีขาว รูปทรงคล้ายดอกกะหล่ำเห็นขอบนอกได้ชัดเจน มักก่อตัวในแนวดิ่ง ลอยกระจายห่างกัน และเกิดขึ้นในเวลาที่สภาพอากาศแจ่มใสดี ถ้ามีขนาดก้อนเมฆใหญ่ก็อาจมีฝนตกภายใต้ก้อนเมฆ ลักษณะเป็นฝนเฉพาะแห่ง
คิวมูโลนิมบัส
(Cumulonimbus) ก้อนเมฆฝนขนาดใหญ่ยักษ์ มีรูปทรงทรงคล้ายดอกกะหล่ำ และก่อตัวในแนวดิ่งเช่นกัน ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หากลมชั้นบนพัดแรง ฐานเมฆต่ำมีสีดำมืด เป็นเมฆหนามืดทึบ มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง มักมีฝนตกลงมา  ฝน ฟ้าคะนอง




2.เมฆชั้นกลาง เกิดระดับที่สูง 2-6 กิโลเมตร ในการเรียกชื่อเดิม จะเติมคำว่า “อัลโต” ซึ่งแปลว่าชั้นกลาง ไว้ข้างหน้า
อัลโตสตราตัส
(Altostratus)  เมฆแผ่นหนาสีเทาที่ปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง บางครั้งหนามากจนบดบังแสงอาทิตย์
อัลโตคิวมูลัส
(Altocumulus) เมฆก้อนสีขาว ลอยเป็นแพห่างกันไม่มาก มีช่องว่างระหว่างก้อนเพียงเล็กน้อยมองดูคล้ายฝูงแกะ คล้ายเมฆเซอโรคิวมูลัสแต่ขนาดใหญ่กว่ามาก

3.เมฆชั้นสูง เกิดขึ้นที่ระดับความสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร ในการเรียกชื่อจะเติมคำว่า เซอโร” ซึ่งแปลว่า ชั้นสูง ไว้ข้างหน้า
เซอโรสตราตัส (Cirrostratus) เมฆแผ่นบางๆ สีขาว โปร่งแสง เป็นผลึกน้ำแข็ง มักปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง และทำให้เกิดดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ทรงกลด
เซอโรคิวมูลัส (Cirrocumolus) เมฆสีขาว มีลักษณะคล้ายเกล็ดบางๆ หรือระลอกคลื่นเล็กๆ เป็นผลึกน้ำแข็ง โปร่งแสง และเรียงรายกันเป็นระเบียบ
เซอรัส
(Cirrus)เมฆริ้ว สีขาว โปร่งแสง และเป็นผลึกน้ำแข็ง ลักษณะคล้ายขนนกเพราะถูกกระแสลมชัดบนพัด มักเกิดขึ้นเวลาที่สภาพอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีเข้ม

 

 

 




ข้อมูลสิ่งแวดล้อม

ปัญหาสภาวะแวดล้อมต้องแก้ที่นโยบายระดับชาติ : ” อากาศเสีย”
หยุดเพิ่มความร้อนใส่กรุงเทพ
คาถาสำหรับเจ้าของรถคันแรกและทุกๆคัน
ดินสอสุดเจ๋ง
นานเท่าไหร่? กว่าจะย่อยสลาย



หน้าหลัก              เกี่ยวกับเรา              บริการ              เว็บบอร์ด              ติดต่อเรา