ธรรมะวิถี
ReadyPlanet.com
dot dot
http://www.vc-tech.com/static.php?mode=preview&keyword=ContactUs#contact







ประเพณีเลี้ยงผีหนองเล็งทราย article

             

             ประเพณีเลี้ยงผีหนองเล็งทราย   เป็นประเพณีไทยเก่าแก่ของชาวอำเภอแม่ ใจที่ สืบทอดกันมากว่า ๗๐ ปี ประเพณีนี้ เกิดจากความเชื่อที่มีมาแต่โบราณว่า หนองเล็งทรายจะมีเจ้าของ มีผีรักษาแม่น้ำคงคาไว้ ถ้าปีไหนไม่เลี้ยงผีจะเกิดอาเพศ  ฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านจะมีการเจ็บไข้ได้ป่วย ชาวบ้านจึงร่วมกันจัดประเพณีเลี้ยงผีหนองเล็งทรายขึ้น เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งชาวบ้านจะร่วมกันจัดประเพณีเลี้ยงผีหนองเล็งทราย ในเดือน ๗ (เดือน ๙ เหนือ) แรม ๙ ค่ำ อีกประการหนึ่ง เพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกแก่ชาวบ้าน ให้ช่วยกันรักษาหนองเล็งทราย ให้เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอแม่ใจสืบต่อไป

ประเพณีการเลี้ยงผีขุนน้ำ article

           

     ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ  คือ   การทำพิธีสังเวยผีหรือเทวดาอารักษ์ ผู้เป็นหัวหน้าของผีอารักษ์ทั้งหลายที่ทำหน้าที่ ปกปักรักษาป่าไม้อันเป็นต้นน้ำลำธาร เพื่อเป็นการขอบคุณเทวดาที่บันดาลให้มีน้ำใช้ในการเกษตรกรรม โดยเฉพาะในเขตลุ่มน้ำของลำน้ำนั้น ๆ และยังเป็นการขอให้ผีประจำขุนน้ำบันดาลให้ฝนตกและมีน้ำจากขุนน้ำหรือต้นน้ำนั้นลงมาสู่พื้นราบได้

พิธีสืบชะตาแม่น้ำ

  

 

          ทางภาคเหนือนั้น การต่อชะตามีหลายอย่าง และนิยมทำในหลายกรณี ชาวบ้านบางกลุ่มที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำ ชาวบ้านก็นิยมจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ เพื่อต่ออายุ และความเป็นสิริมงคลจะได้เกิดขึ้นกับแม่น้ำรวมทั้งผู้คนในชุมชนไปด้วย การสืบชะตาให้กับแม่น้ำจึงเป็นการแสดงความศรัทธา ความเคารพ และเหนือสิ่งอื่นใดคือการร่วมกันแสดงออกถึงความห่วงใยต่อแม่น้ำ  อย่างไรก็ดีการสืบชะตาถ้าพูดง่ายๆ ก็คือการต่ออายุให้มีอายุยืนยาวขึ้นนั่นเอง เราคงเคยได้ยินหรือคุ้นเคยกับคำพูด  สืบชะตาเมือง    จากโหร หรือนักโหราศาสตร์ในช่วงบ้านเมืองเกิดวิกฤต  โดยพิธีสืบชะตาแม่น้ำนี้  จัดขึ้นเพื่อเป็นการต่อชีวิตให้กับแม่น้ำ  และเป็นการขอขมาต่อแม่น้ำ สายน้ำที่มีความสำคัญต่อสรรพสิ่งทั้งมวลรวมถึงผู้คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำและเป็นการกระตุ้นเตือนให้คนที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำมีจิตสำนึกช่วยกันรักษาสายน้ำแห่งนี้ให้ยืนยาวอย่างยั่งยืน

  

 

 

พิธีบวชต้นไม้

 

 

  

 

          พิธีบวชต้นไม้ เป็นการเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน ซึ่งมีประเด็นร่วม คือ การอนุรักษ์ป่าไม้ของหมู่บ้าน โดยให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะป่าบริเวณต้นน้ำลำธาร และมีความเชื่อว่า พญาต้นไม้ที่ผ่านพิธีกรรมการบวชแล้ว จะคุ้มครองรักษาต้นไม้ต่าง ๆ ในบริเวณนั้น ซึ่งจะมีผลทำให้น้ำไม่แห้ง ฝนตกต้องตามฤดูกาล ถือเป็นการยับยั้งการทำลายธรรมชาติและช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรักษาป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารให้อุดมสมบูรณ์ และที่สำคัญคือ สร้างความสำนึกให้แก่ชุมชนในการดูแลรักษาสภาพธรรมชาติ

  

 

 

หน้า 1/1
1
[Go to top]



หน้าหลัก              เกี่ยวกับเรา              บริการ              เว็บบอร์ด              ติดต่อเรา