โลกร้อน น้ำท่วม ข้าวเสียหาย เกี่ยวอะไรกับอาร์กติก?
ReadyPlanet.com
dot dot
http://www.vc-tech.com/static.php?mode=preview&keyword=ContactUs#contact




โลกร้อน น้ำท่วม ข้าวเสียหาย เกี่ยวอะไรกับอาร์กติก?

โลกร้อน น้ำท่วม ข้าวเสียหาย เกี่ยวอะไรกับอาร์กติก?

Blogpost โดย รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ 

 

 


บ่อยครั้งที่เราได้ยินข่าวคราวน้ำท่วมฉับพลัน พายุหลงฤดู ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ซึ่งเกิดบ่อยครั้งขึ้น ยาวนานขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทางสภาพภูมิอากาศเหล่านี้ทำให้เราอดคิดไม่ได้ว่า … โลกของเรากำลังเปลี่ยนไป หรืออะไรทำให้โลกเปลี่ยนแปลง

โลกร้อน ไม่ได้มีแค่เรื่องอากาศร้อน

โลกเรากำลังร้อนขึ้น ใครหลายคนอาจสัมผัสได้ว่าฤดูหนาวของไทยนั้นสั้นลงไปทุกปี แต่ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกร้อนไม่ได้มีเป็นเพียงแค่อากาศที่ร้อนขึ้นเท่านั้น วิกฤตโลกร้อนยังส่งผลต่อความถี่ ความรุนแรง และระยะเวลาการเกิดภัยพิบัติในประเทศไทย หนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน คือ ภาคเหนือตอนล่างซึ่งมีความอ่อนไหวและเสี่ยงต่อภัยพิบัติหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมภัยแล้ง ดินโคลนถล่ม ซึ่งล้วนส่งผลต่อวิถีชีวิตของชุมชน

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้โลกร้อนขึ้นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือ ความสมบูรณ์ของน้ำแข็งอาร์กติก ซึ่งกำลังถูกคุกคามจากอุตสาหกรรมน้ำมันที่ฉกฉวยโอกาสขณะที่น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายจนเหลือน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ มองข้ามสัญญาณเตือนภัยแห่งหายนะครั้งใหญ่ของมวลมนุษยชาติและสรรพชีวิต การใช้ฟอสซิลเช่นน้ำมัน เป็นสาเหตุหลักของวิกฤตโลกร้อน และกิจกรรมขุดเจาะนี้ยังทำลายความสมบูรณ์ของน้ำแข็งอาร์กติกด้วย อาร์กติกที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นเครื่องปรับอากาศที่คอยรักษาระดับสมดุลของสภาพภูมิอากาศของโลก  น้ำแข็งของอาร์กติกเป็นเหมือนกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนแสงอาทิตย์และความร้อนกลับไปยังชั้นบรรยากาศ ถึงแม้จะอยู่ห่างออกไปอีกซีกโลก ผลกระทบของสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากการละลายของน้ำแข็งที่อาร์กติกไม่ได้ส่งผลแต่ในเฉพาะภูมิภาคอาร์กติก แต่ทุกชีวิตบนโลกล้วนได้รับผลกระทบไม่ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน หากปราศจากน้ำแข็งที่อาร์กติกแล้ว ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเลวร้ายจนไม่สามารถหยุดยั้งได้


จากทุ่งน้ำแข็งอาร์กติกถึงทุ่งข้าวเมืองสองแคว

ประเทศไทยเป็นผู้นำในการส่งออกอาหารสู่ตลาดโลกโดยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งข้าวไม่ได้เป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้สำคัญให้กับประเทศ แต่ยังเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของคนไทย การเกษตรของประเทศไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในชนบทเป็นการเกษตรที่พึ่งพิงน้ำฝนธรรมชาติ ภัยจากน้ำท่วม คลื่นความร้อน และการขาดแคลนน้ำอันมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถสร้างความเสียหายอย่างมากต่อผลผลิตการเกษตร ซึ่งท้ายที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ และเศรษฐกิจของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

ทุ่งข้าวเมืองสองแคว คือ อู่ข้าวอู่น้ําสําคัญแห่งหนึ่งของไทย ไม่ว่าจะเป็นพายุ หรือการคลาดเคลื่อนของฤดูกาลต่างๆ ล้วนส่งผลอย่างมหาศาลกับข้าวของเราทั้งสิ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลให้การกระจาย ความถี่ และปริมาณน้ำฝนในบางพื้นที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ภัยแล้งที่ยาวนาน และน้ำท่วมที่รุนแรงอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้ง สร้างความเสียหายกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งสำหรับประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทยแล้ว ข้าวถือเป็นหัวใจของประเทศ เฉกเช่นเดียวกับที่ชาวนาถือเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

พืชตอบสนองต่ออุณหภูมิ และให้ผลผลิตสูงเมื่อเติบโตในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งส่วนมากคือ 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นจึงอาจทำให้ผลผลิตของพืชในไทยลดลง ละอองเรณูของพืชเป็นองค์ประกอบที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากที่สุด ข้าวบางพันธุ์สูญเสียความสมบูรณ์ของละอองเรณูเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 34 องศาเซลเซียส ผลผลิตข้าวที่ได้เมล็ดอาจจะลีบลง แม้ว่าต้นข้าวยังเติบโตอยู่ (ข้อมูลเพิ่มเติม : การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเทศไทย: วิกฤตหรือโอกาส)

การปกป้องอาร์กติกคือการปกป้องอู่ข้าวอู่น้ําของไทย และปกป้องทุกสรรพสิ่งบนโลก

ในปีที่ผ่านมามีการเตือนถึง 4 องศาอันตราย ที่จะพาโลกไปสู่จุดที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ กล่าวคือ รายงานของคณะกรรมการติดตาม ภูมิอากาศ กล่าวเตือนว่า หากรัฐบาลและทุกภาคส่วนยังขาดความร่วมมือกันในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศของโลกดังที่เป็นอยู่นี้ ในปี พ.ศ.2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 4 องศาเซลเซียส ข้อมูลจากธนาคารโลกได้คาดการณ์ออกมาว่า 4 องศานี้ ไม่ใช่เป็นเพียงการเพิ่มขึ้นของตัวเลขอุณหภูมิ แต่หมายถึงสภาพภูมิอากาศของโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไปและส่งผลกระทบกับระบบนิเวศ โดยรวมทั้งหมด เป็นมหันตภัยที่คุกคามประชากรโลกในระยะยาว หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการเกษตร การประมง ปริมาณน้ำจืด ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ภาวะแล้ง และผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากอากาศร้อน คุณภาพอากาศแย่ และโรคระบาดจากแมลงพาหะต่างๆ


สิ่งที่เกิดขึ้นที่อาร์กติกไม่ได้ส่งผลแต่ในเฉพาะอาร์กติก ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนส่งผลถึงเราทุกคน การปกป้องอาร์กติกจึงเป็นการปกป้องสภาพภูมิอากาศของโลก เพื่อความมั่นคงทางอาหาร และระบบนิเวศโดยรวมของโลก ถึงเวลาแล้วที่เราจะมาร่วมกันลงมือทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เพื่อปกป้องอาร์กติกและทุกสรรพชีวิตบนโลก ก่อนในน้ำจะไม่เหลือปลา ในนาจะไม่เหลือข้าวให้เราได้พึ่งพิง 

 

 

ที่มา




Update ข่าวสิ่งแวดล้อม

ผู้แทน UK ยัน "ถ่านหินสะอาด" ไม่มีจริง
ปัดฝุ่นทำ"ใบขับขี่จักรยาน"หลังเคยออกกฎเมื่อ80ปีที่แล้ว
เมืองกินป่า น้ำกินเมือง (More city, Less forest)
ธรรมชาติเตือนภัย!! หิมะและน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ เปลี่ยนสภาพกลายเป็นสีดำ
โลกร้อน VS โลกเย็น
แนะรื้อ EIA ปฏิรูปนโยบายสิ่งแวดล้อม
ขยะถุงกระดาษกาแฟ
เตือน "แพร่-ลำปาง" ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน จี้ปรับแผนมาตรการควบคุมการเผาที่โล่ง article
"เชียงใหม่" สั่งติดตามสถานการณ์หมอกควันใกล้ชิด
นักวิชาการคาดอาจเกิดหิมะตกช่วงกลาง ก.พ.-มี.ค.
นาซาเปิดข้อมูลโลกยังร้อนขึ้น แม้ตอนนี้หลายพื้นที่กำลังหนาว
"หลังคาเขียว" จุดติดกระแสรีไซเคิล
ชาวแพร่พร้อมต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำยม
ศูนย์วิจัยทางทะเลญี่ปุ่นระบุ ไทยจะมีฝนค่อนข้างมาก
กรมควบคุมมลพิษชี้ "กรุงเทพฯ" มีสารก่อมะเร็งในอากาศเกินมาตรฐาน article
ชาวบ้านปราจีนบุรีเดือดร้อน หลังโรงงานอุตสาหกรรมลักลอบทิ้งขยะสารพิษในบ่อลูกรังร้าง



หน้าหลัก              เกี่ยวกับเรา              บริการ              เว็บบอร์ด              ติดต่อเรา