แนะรื้อ EIA ปฏิรูปนโยบายสิ่งแวดล้อม
ReadyPlanet.com
dot dot
http://www.vc-tech.com/static.php?mode=preview&keyword=ContactUs#contact




แนะรื้อ EIA ปฏิรูปนโยบายสิ่งแวดล้อม
แนะรื้อ EIA ปฏิรูปนโยบายสิ่งแวดล้อม

ประเด็นสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใกล้ตัวและจำเป็นต้องปฏิรูประเบียบกฎกติกาต่างๆ เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างคนต่อคนในการเข้าถึงทรัพยากร  รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติที่จำเป็นต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่เพื่อส่งมอบแก่คนรุ่นต่อไป  ทว่าในกระแสการปฏิรูปรอบนี้ ประเด็นดังกล่าวกลับถูกพูดถึงน้อยที่สุด

วันที่ 26 ก.พ. 2557 ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมจัดเสวนา "ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปสิ่งแวดล้อม ปฏิรูปอะไร" โดยมี บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ร่วมเสวนา

บัณฑูร ระบุว่า ภาคการเมืองจะให้ความสำคัญเรื่องนี้ค่อนข้างน้อ้ย และปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากโครงการต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับอำนาจการบริหารโดยตรง การปฏิรูปจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดหัวข้อหลักใน 3 เรื่อง คือ 1.กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม 2.เครื่องมือการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม 3.ปฏิรูปกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม

"3 ข้อนี้เชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย ถ้าทำทั้งหมดได้จะช่วยตัดขวางปัญหาได้รอบด้าน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ที่ต้องจัดระบบใหม่ และแก้รัฐธรรมนูญบางมาตราให้สอดคล้องกับปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น" บัณฑูร กล่าว

บัณฑูรยังเสนอให้ปฏิรูปรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เนื่องจากมีช่องโหว่สำคัญที่ไม่มีการกำหนดระเบียบแยกระหว่างเจ้าของโครงการกับคณะผู้จัดทำ  ทำให้เอื้อประโยชน์ศึกษาผลกระทบให้เอื้อกับโครงการโดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบระยะยาว ทั้งๆ ที่EIAควรมีบทบาทในการยกเลิกโครงการที่ส่งผลกระทบร้ายแรงได้ ไม่ใช่แค่ไปเพิ่มมาตรการจนผ่าน

บัณฑูร กล่าวว่า ควรปฏิรูป EIA ด้วยการหันไปใช้การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment) หรือ SEA แทน เพราะ SEA จะเป็นการดำเนินการก่อนถึงขั้นตอนการพัฒนาช่วยชีว่านโยบาย แผนงานและโครงการขนาดใหญ่ลักษณะใด เหมาะสมกับพื้นที่และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และช่วยบ่งชี้เรื่องหรือในประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระดับโครงการด้วย

ด้าน ศศิน กล่าวว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้รับการปฏิรูปอย่างจริงจังมาเกือบ 20 ปี องค์กรที่ดูแลเรื่องนี้ก็เริ่มอ่อนแอลงๆ เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้มาตรการการดูแลไม่ถูกพัฒนาให้เท่าทันกับปัญหาใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น

"การพัฒนาฐานทรัพยากรที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการตัดถนนผ่านป่า การสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึก การทำอุตสาหกรรมอาหาร และฮับพลังงาน รวมถึงเขตการพัฒนาเศรษฐกิจต่างๆ นั้นควรจะถูกตั้งคำถามให้รอบด้าน และคำนึงว่าฐานทรัพยากรชุมชนจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา กระแสสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนแม่วงก์ ฯลฯ" ศศิน กล่าว

ศศิน ย้ำว่า รัฐต้องไม่ใช้แค่เร่งเร้าโครงการต่างๆ สู่การกระตุ้นเศรษฐกิจและใช้ทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงชุมชน นับตังแต่วันที่มีการตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังไม่เคยเห็นรัฐมนตรีที่รับตำแหน่งเป็นผู้เชี่ยวชาญสายตรงด้านสิ่งแวดล้อมเลย และคนที่มารับตำแหน่งก็มีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแยกออกจากกันไม่ได้


ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ปีที่ 12 ฉบับ 4039 หน้า A4
วันที่ : 27 กุมภาพันธ์ 2557



Update ข่าวสิ่งแวดล้อม

ผู้แทน UK ยัน "ถ่านหินสะอาด" ไม่มีจริง
ปัดฝุ่นทำ"ใบขับขี่จักรยาน"หลังเคยออกกฎเมื่อ80ปีที่แล้ว
เมืองกินป่า น้ำกินเมือง (More city, Less forest)
โลกร้อน น้ำท่วม ข้าวเสียหาย เกี่ยวอะไรกับอาร์กติก?
ธรรมชาติเตือนภัย!! หิมะและน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ เปลี่ยนสภาพกลายเป็นสีดำ
โลกร้อน VS โลกเย็น
ขยะถุงกระดาษกาแฟ
เตือน "แพร่-ลำปาง" ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน จี้ปรับแผนมาตรการควบคุมการเผาที่โล่ง article
"เชียงใหม่" สั่งติดตามสถานการณ์หมอกควันใกล้ชิด
นักวิชาการคาดอาจเกิดหิมะตกช่วงกลาง ก.พ.-มี.ค.
นาซาเปิดข้อมูลโลกยังร้อนขึ้น แม้ตอนนี้หลายพื้นที่กำลังหนาว
"หลังคาเขียว" จุดติดกระแสรีไซเคิล
ชาวแพร่พร้อมต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำยม
ศูนย์วิจัยทางทะเลญี่ปุ่นระบุ ไทยจะมีฝนค่อนข้างมาก
กรมควบคุมมลพิษชี้ "กรุงเทพฯ" มีสารก่อมะเร็งในอากาศเกินมาตรฐาน article
ชาวบ้านปราจีนบุรีเดือดร้อน หลังโรงงานอุตสาหกรรมลักลอบทิ้งขยะสารพิษในบ่อลูกรังร้าง



หน้าหลัก              เกี่ยวกับเรา              บริการ              เว็บบอร์ด              ติดต่อเรา