ประเทศไทยเข้าสู่ยุค “เมืองแห่ง...
ReadyPlanet.com


ประเทศไทยเข้าสู่ยุค “เมืองแห่งดิจิทัล” มีผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต 61.2 ล. ราย


 ประเทศไทยเข้าสู่ยุค “เมืองแห่งดิจิทัล” มีผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต 61.2 ล. ราย

เว็บไซต์ Datareportal ได้รายงานตัวเลขผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในเมืองไทย ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดโดยเผยแพร่รายงานฉบับดังกล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา โดยระบุว่าจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในเมืองไทยมีจำนวนอยู่ที่ 61.21 Users โดยคิดเป็นจำนวน 85.3 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนประชากร (จำนวนประชากรไทยปัจจุบันมีรายงานอยู่ที่ประมาณ 71.6 ล้านคน)

โดยจำนวนประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตนั้น มีรายงานว่า 52.25 ล้านราย ใช้งานบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งคิดเป็น 72.8 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ขณะที่การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นมีจำนวนการใช้งานประมาณ 101.2 ล้านเครื่อง ซึ่งคิดเป็น 141 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ

จากจำนวนการใช้งานดังกล่าว สามารถระบุได้แล้วว่าประเทศไทยนั้นคือ “เมืองแห่งดิจิทัล” เป็นที่เรียบร้อย โดยมีการใช้งานในหลากหลายรูปแบบ โดยภาพรวมการใช้งานของประชากรทั้งประเทศ มีรายละเอียดวัดจากจำนวนประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 71.6 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น 0.2 เปอร์เซ็นต์ระหว่างปี 2565 และ 2566 จำนวนประชากรทั้งประเทศนั้นแบ่งเป็นเพศหญิง 51.6 เปอร์เซ็นต์ และ 48.5 เปอร์เซ็นต์เป็นจำนวนประชากรเพศชาย ทั้งนี้ประชากร 53.2 เปอร์เซ็นต์นั้นอาศัยอยู่ในเมือง ขณะที่ 46.8 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ในเขตชนบท

จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปี 2023

จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในเมืองไทยมีด้วยกัน 61.2 Users ซึ่งเป็นจำนวน 85.3 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 มีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 0.2 เปอร์เซ็นต์

 

จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าประชากรประมาณ 10.55 ล้านคนในเมืองไทยไม่ได้มีโอกาสใช้อินเทอร์เน็ต คิดเป็น 14.7 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ หากแต่รายงานชิ้นดังกล่าวได้มีการสำรวจล่วงหน้า ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าตัวเลขของประชากรที่ไม่ได้มีโอกาสใช้อินเทอร์เน็ตนั้นน่าจะเพิ่มขึ้น เพราะการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีความครอบคลุมและค่าบริการที่ไม่ได้สูงเหมือนดังเช่นในอดีต

รายงานสถิติการใช้งานโซเชียลมีเดียในเมืองไทยปี 2023

ตามที่ได้ระบุในข้างต้นว่ามีจำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในเมืองไทยจนถึงเดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ 52.25 ล้านราย ทั้งนี้มีรายงานข้อมูลจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมในไทยนั้น ระบุว่าจากจำนวนโฆษณาออนไลน์ทำให้เห็นว่าผู้ใช้โซเชียลมีเดียจะมีอายุตั้งแต่ 18 ปี ทั้งนี้ในจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียนั้นจะมีผู้ใช้งานเป็นเพศหญิงอยู่ที่ 52.3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ผู้ใช้งานเพศชายอยู่ที่ 47.7 เปอร์เซ็นต์

จำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กในเมืองไทยลดลง

มีรายงานตัวเลขการใช้งานเฟซบุ๊กในเมืองไทยจากฝ่ายโฆษณาของ Meta ว่ามีคนไทยเป็นเจ้าของแอ็กเคานต์ในการใช้เฟซบุ๊กอยู่ที่ 48.10 Users ซึ่งตัวเลขดังกล่าวลดลง 2.0 ล้าน Users ในปี 2022-2023 ในขณะเดียวกันมีรายงานว่าจำนวนตัวเลขของผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก สามารถเข้าถึงแอดฯ บนเฟซบุ๊กได้ลดลงถึง 3.9 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเดือน ตุลาคม 2565 – มกราคม 2566

จำนวนผู้ใช้งานยูทูบเติบโตขึ้น

จากจำนวนผู้ใช้งานในปี 2565 ถึง 2566 ระบุว่าผู้ใช้งานยูทูบเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ล้านราย ซึ่งตรงกันกับตัวเลขการตลาดที่ระบุว่า นักการตลาดประสบผลในการโฆษณาบนยูทูบประเทศไทย และมีการซื้อโฆษณาเพิ่มขึ้นถึง 1.9 เปอร์เซ็นต์ในเดือนตุลาคม – ธันวาคมปี 2565

จำนวนผู้ใช้งาน TikTok

จนถึงปี 2022 มีผู้ใช้งานคนไทยกว่า 35.80 ล้านบัญชี (อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป) TikTok เป็นแอปพลิเคชันที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในปี 2564 โดยมีการดาวน์โหลดมากกว่า 700 ล้านครั้ง ผู้ใช้ TikTok ใช้เวลาเฉลี่ย 19.6 ชั่วโมงต่อเดือนเท่ากับ Facebook (19.6 ชั่วโมง) เป็นรองเพียง YouTube (23.7 ชั่วโมงต่อเดือน) และเมืองไทยอยู่ในอันดับที่ 8 ของประเทศที่มีผู้ใช้งาน TikTok มากที่สุดในโลก

จากตัวเลขดังกล่าว ทำให้เห็นว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทยและอยู่บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียนั้น ชื่นชอบเนื้อหาในลักษณะของคลิปสั้นมากกว่าการอ่านเนื้อหาจากหน้าฟีด ส่วนหนึ่งเพราะความรู้สึกเพลิดเพลิน ขณะที่อีกส่วนหนึ่งรู้สึกว่าทำความเข้าใจได้ง่ายกว่า

ซึ่งการเติบโตของผู้ใช้งาน YouTube และ TikTok น่าจะเป็นการชัดเจนว่า ถ้าต้องการโปรโมตและลงโฆษณาควรจะต้องใช้แพลตฟอร์มอะไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทย ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ในโลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งผู้ผลิตเนื้อหาสามารถใช้โซเชียลมีเดียในการดึงทราฟฟิกเข้าสู่เว็บไซต์ หรือต้นทางออนไลน์ของตนเองได้

อ้างอิง ข่าวเศรฐกิจ



ผู้ตั้งกระทู้ We Get High :: วันที่ลงประกาศ 2023-02-21 10:51:18


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล